วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บุคคลสำคัญ

บุคคลสำคัญชาวต่างชาติของไทย
ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย

          
          บาทหลวงปาลเลอกัวซ์
         
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์  หรือฌอง  แบบตีสต์  ปาลเลอกัวซ์  (พ.ศ. 2348 - 2405)  ชาวฝรั่งเศส  เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ  ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381  ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญ
          บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี  รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์  ภูมิศาสตร์  และวิทยาศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย
          ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน  และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น  โดยมีวชิรญาณเถระ  (ต่อมาคือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)  ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย  และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
                    นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา  คือ  ภาษาไทย  ละติน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  หรือสัพพะ  พะจะนะ  พาสาไท  พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397  เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส  และแต่งหนังสือเรื่อง  "เล่าเรื่องเมืองสยาม"  ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
                    
                    2.  ด้านวิทยาการตะวันตก  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะดาราศาสตร์  ฟิสิกส์  และเคมี  และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป  รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388  โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส  และมีฝีมือในการชุบโลหะ  ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน  นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
                    3.  ด้านศาสนา  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย  เช่น  สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก  และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ                  


ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย

          
          
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ          สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  (พ.ศ. 2405 - 2486)  มีพระนามเดิมว่า  "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร"  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่ม  ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และทรงส่งเสริมการศึกษาด้านประวัติศาสตร์  โบราณคดี  และการศึกษาของชาติ
          พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1.  ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
                              1.1)  ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก  ระหว่าง พ.ศ. 2435 - 2458  และมีบทบาทสำคัญในการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลจนประสบความสำเร็จ  ทรงตั้งมณฑล 18 มณฑล  จังหวัด 71 จังหวัด  และเสด็จออกตรวจราชการหัวเมืองสม่ำเสมอ
                              1.2)  ทรงฝึกหัดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน  เพื่อปูพื้นฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย
        
                    2.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ได้แก่
                              2.1)  ทรงค้นคว้าในทางพงศาวดารและโบราณคดี  ทรงมีงานประพันธ์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก  เช่น  ไทยรบพม่า  พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ  จนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
                              2.2)  ทรงว่าการหอพระสมุดสำหรับพระนครและริเริ่มการตั้งพิพิธภัณฑ์เมื่อ พ.ศ. 2470  ทรงประกาศรับซื้อหนังสือเก่าและรวบรวมของเก่า ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสมบัติของชาติ  ทรงทำโรงเก็บราชรถ
                              2.3)  ทรงริเริ่มในการพิมพ์หนังสือสำหรับแจกเป็นวิทยาทานในงานต่าง ๆ เช่น  งานพระศพหรืองานวันประสูติ  และขอแบ่งหนังสือส่วนหนึ่งเก็บไว้ในห้องสมุด  ทำให้หนังสือความรู้ทั้งเก่าและใหม่ได้รับการพิมพ์แพร่หลายมากขึ้น  รวมทั้งได้รักการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด
                              2.4)  ทรงส่งเสริมการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับไทยที่มีอยู่ในที่ต่าง ๆ
                              2.5)  ใน พ.ศ. 2475  ทรงทดลองจัดตั้งสมาคมวรรณคดีและราชบัณฑิตยสภา  แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475  ได้ทรงถูกถอดออกจากการเป็นสภานายกหอพระสมุดและราชบัณฑิตยสภา
                              2.6)  ทรงริเริ่มจัดตั้งหอจดหมายเหตุ  หอรูป  โดยทรงแยกจัดไว้เป็นแผนก ๆ คือ  รูปคน  รูปสถานที่  รูปเหตุการณ์  และนำมาไว้แห่งเดียวกัน  ทำให้มีรูปเก่าตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น